At FORUM-ASIA, we employ a range of strategies to effectively achieve our goals and create a lasting impact.

Through a diverse array of approaches, FORUM-ASIA is dedicated to achieving our objectives and leaving a lasting imprint on human rights advocacy.

Who we work with

Our interventions are meticulously crafted and ready to enact tangible change, addressing pressing issues and empowering communities.

Each statements, letters, and publications are meticulously tailored, poised to transform challenges into opportunities, and to empower communities towards sustainable progress.

Multimedia Stories
publications

With a firm commitment to turning ideas into action, FORUM-ASIA strives to create lasting change that leaves a positive legacy for future generations.

Explore our dedicated sub-sites to witness firsthand how FORUM-ASIA turns ideas into action, striving to create a legacy of lasting positive change for future generations.

Subscribe our monthly e-newsletter

Thailand: End Impunity and Ensure Justice for Community under Attack

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin

(Geneva/London/Paris/Brussels, 11 February 2016) – On the first anniversary of the death of land rights activist Chai Bunthonglek, the Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM- ASIA), Amnesty International (AI), FIDH and OMCT within the framework of the Observatory for the Protection of Human Rights Defenders and Protection International (PI) renew calls on the Royal Thai government to ensure justice for the crimes against Chai Bunthonglek and other members of the Southern Peasants Federation of Thailand (SPFT) – a community-based land rights organization. We also call on the authorities to protect all human rights defenders at risk of intimidations, forced evictions, killings and other attacks throughout the country.

The first anniversary of Chai Bunthonglek’s killing marks another year of fear for SFPT community members, and impunity for perpetrators of crimes, in Klong Sai Pattana village, Chai Buri district Surat Thani, southern Thailand. The community, which has since 2008 been occupying land in Klong Sai Pattana has faced killings, death threats, judicial harassment, intimidation, destruction of property and crops, and threats of eviction. While the Supreme Court in 2014 ordered the Jiew Kang Jue Pattana Ltd palm oil company to vacate land in Chai Buri district, the company is still there.

Chai Bunthonglek, 61, was shot dead by a gunman who arrived on the back of a motorcycle at his relative’s home on the outskirts of Klong Sai Pattana community, on 11 February 2015. He is the fourth SPFT member in Klong Sai Pattana to be killed. The body of former motorcycle mechanic Somporn Pattanaphum was found in January 2010 on the village outskirts, riddled with bullet holes. In November 2012, two women human rights defenders, trader Montha Chukaew and manual labourer Pranee Boonrat, were shot dead, while travelling back from a local market. No one has been held accountable for any of these brutal killings.

Police investigating the killing of Chai Bunthonglek submitted evidence to the Public Prosecutor about three suspects, including the suspected gunman, an individual suspected to have employed him and the alleged motorbike driver. Only one suspect – the suspected motorbike driver – has been brought to trial –on charges of murder, jointly premeditated murder and possession of a firearm without permit.

While welcoming official moves to ensure justice, the Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA), Amnesty International (AI), FIDH and OMCT within the framework of the Observatory for the Protection of Human Rights Defenders and Protection International (PI), remain concerned that only one person has been brought to trial for a crime that appears to have been part of a larger plot, and calls on the authorities to continue investigations to ensure all suspected perpetrators are prosecuted, in fair trials.

“Justice for the death of Chai Bunthonglek is of critical importance, not only for him, his family and SPFT, but also because it would signal a new determination by the police, the prosecution and the courts to ensure that human rights defenders’ peaceful activism is fully protected by the law. Ongoing impunity for threats, harassments and the deaths of human rights defenders perpetuates a deadly environment for human rights defenders who work on land rights and natural resources issues in Thailand” said Evelyn Balais-Serrano, the Executive Director of FORUM-ASIA.

The persecution faced by SPFT members highlight lack of effective mechanisms to protect human rights defenders, particularly those operating in rural areas with limited resources and access to remedies.

Our organisations urge that Thailand follow its support for the 2015 United Nations General Assembly resolution on the protection of human rights defenders with immediate and effective measures. In line with its international human rights obligations ensure that those who attack human rights defenders are held accountable and also to create a safe and enabling environment in which defenders may carry out their work. This includes ensuring that all branches of the Thai state, the executive, legislative and judicial, guided by the Department of Rights and Liberties and the National Human Rights Commission, provide effective protection – in law, policy and practice – for defenders at risk, and ensure remedies for those who have been physically attacked, intimidated or harassed.

Click here to download the press-release (PDF)

——————

Thai Version

ในวาระครบรอบหนึ่งปีการเสียชีวิตของนายใช่ บุญทองเล็ก นักกิจกรรมด้านสิทธิที่ดิน องค์กรฟอรั่มเอเชีย (the Asian Forum for Human Rights and Development หรือ FORUM-ASIA) แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) อินเตอร์เนชั่นแนล เฟเดอเรชั่น ฟอร์ ฮิวแมนไรท์ (International Federation for Human Rights หรือ FIDH) เวิลด์ ออร์แกไนเซชัน อเก้นส์ ทอร์เจอร์ (World Organization against Torture หรือ OMCT) ซึ่งทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือของดิอ็อพเซอร์เวทอรีย์ ฟอร์ เดอะ โพรเท็คชัน ออฟ ฮิวแมนไรท์ดีเฟนเดอร์ (the Observatory for the Protection of Human Rights Defenders) และโพรเท็คชัน อินเตอร์เนชั่นแนล (Protection International) เรียกร้องถึงรัฐบาลไทยอีกครั้งเพื่อให้ความยุติธรรมในคดีที่เกิดขึ้นกับนาย ใช่ บุญทองเล็กและสมาชิกคนอื่น ๆ ของสหพันธ์เกษตรกรภาคใต้ (สกต.) ซึ่งเป็นองค์กรชุมชนที่ทำงานเพื่อสิทธิที่ดิน และเรียกร้องทางการไทยให้คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนทุกคนที่เสี่ยงในการ ถูกข่มขู่ บังคับไล่รื้อ ถูกสังหาร และถูกทำร้ายที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ

ผ่านไปหนึ่งปีสำหรับการสังหารนายใช่ บุญทองเล็ก เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นที่ชุมชนคลองไทรพัฒนา อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี นับเป็นหนึ่งปีที่สมาชิกชุมชน สกต. ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดกลัว คนร้ายยังคงลอยนวลพ้นผิด ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2551 เป็นต้นมา สมาชิกของชุมชนได้เข้าไปอาศัยในที่ดินของคลองไทรพัฒนา แต่กลับมีผู้ถูกสังหาร ขู่ฆ่า คุกคามด้วยการใช้มาตรการทางศาล ข่มขู่ ทำลายทรัพย์สินและพืชผล และถูกขู่ให้ออกจากพื้นที่ ในขณะที่ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อปี 2557 ให้บริษัท จิวกังจุ้ยพัฒนา จำกัด ซึ่งทำสวนปาล์มในพื้นที่ต้องออกจากพื้นที่ในอำเภอชัยบุรี แต่ถึงทุกวันนี้ทางบริษัทยังคงอยู่ในพื้นที่เดิม​

นายใช่ บุญทองเล็ก อายุ 61 ปีถูกยิงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 โดยคนร้ายที่นั่งซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ ระหว่างที่เขาอยู่ที่บ้านของญาติบริเวณนอกชุมชนคลองไทรพัฒนา นายใช่นับเป็นสมาชิกคนที่สี่ของ สกต. ในชุมชนคลองไทรพัฒนาที่ถูกสังหาร นอกจากนี้เมื่อเดือนมกราคม 2553 มีผู้พบศพนายสมพร พัฒภูมิ อดีตช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ถูกยิงเสียชีวิตบริเวณด้านนอกของหมู่บ้าน และเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 นักปกป้องสิทธิมนุษยชนหญิงอีกสองคน ได้แก่ นางมณฑา ชูแก้ว อาชีพค้าขาย และนางปราณี บุญรักษ์ คนงานรับจ้าง ต่างถูกยิงเสียชีวิตระหว่างเดินทางกลับจากตลาด จนถึงทุกวันนี้ยังไม่สามารถจับตัวผู้ที่สังหารบุคคลเหล่านี้มาลงโทษได้

​เจ้าพนักงานผู้สอบสวนคดีการสังหารนายใช่ บุญทองเล็กได้ส่งมอบหลักฐานให้พนักงานอัยการ โดยมีผู้ต้องสงสัยสามคนคือมือปืน ผู้จ้างวานฆ่า และคนขับรถจักรยานยนต์ แต่ที่ผ่านมาสามารถนำตัวผู้ต้องสงสัยว่าเป็นคนขับรถจักรยานยนต์ได้เพียงคน เดียวมาเข้ารับการพิจารณาคดีในข้อหาฆ่าคนตาย ร่วมกันทำให้ผู้อื่นเสียชีวิตโดยเจตนา และมีอาวุธไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต

​เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ทางการพยายามสร้างหลักประกันเพื่อให้เกิดความ ยุติธรรม แต่ทางฟอรั่มเอเชีย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล อินเตอร์เนชั่นแนล เฟเดอเรชั่น ฟอร์ ฮิวแมนไรท์ เวิลด์ ออร์แกไนเซชัน อเก้นส์ ทอร์เจอร์ ซึ่งทำงานภายใต้กรอบความร่วมมือของดิอ็อพเซอร์เวทอรีย์ ฟอร์ เดอะ โพรเท็คชัน ออฟ ฮิวแมนไรท์ดีเฟนเดอร์ และโพรเท็คชัน อินเตอร์เนชั่นแนล ยังคงมีความกังวลกรณีที่มีจำเลยเพียงคนเดียวเข้ารับการไต่สวน ทั้ง ๆ ที่น่าจะมีผู้ที่เกี่ยวข้องมากกว่านี้ และเรียกร้องให้ทางการสอบสวนต่อไปเพื่อประกันว่าผู้ต้องสงสัยทุกคนจะถูก ดำเนินคดี และได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม​

นางเอเวอร์ลิน บาลาอิส เซอร์ราโน (Evelyn Balais-Serrano) ผู้อำนวยการบริหารฟอรั่มเอเชียกล่าวว่า “การดำเนินการเพื่อให้เกิดความยุติธรรมต่อการเสียชีวิตของนายใช่ บุญทองเล็กเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ไม่เพียงต่อตัวเขาเอง ครอบครัวของเขา และสกต.เท่านั้น หากยังเป็นสัญญาณที่แสดงถึงเจตจำนงครั้งใหม่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานอัยการ และศาลที่จะประกันให้มีการคุ้มครองตามกฎหมายต่อการดำเนินกิจกรรมอย่างสงบของ นักปกป้องสิทธิมนุษยชน การลอยนวลพ้นผิดของผู้ที่กระทำการข่มขู่ คุกคาม และสังหารนักปกป้องสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง จะยิ่งทำให้เกิดบรรยากาศที่น่าหวาดกลัวสำหรับนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งทำงานในประเด็นสิทธิที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในประเทศไทย”  

​การที่สมาชิก สกต. ต้องเผชิญกับการคุกคามเหล่านี้ชี้ให้เห็นถึงการขาดกลไกคุ้มครองนักปกป้อง สิทธิมนุษยชนที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ทำงานในเขตชนบทซึ่งมีข้อ จำกัดในเรื่องการเข้าถึงทรัพยากรและการเยียวยา​

ทางองค์กรทั้งห้าขอกระตุ้นให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตามมติที่ประชุมสมัชชาใหญ่ แห่งสหประชาชาติในปี 2558 ว่าด้วยการคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุนใน ที่ประชุมที่ผ่านมา ด้วยการประกาศใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที ทั้งนี้ให้ปฏิบัติตามพันธกรณีด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ เพื่อให้การประกันว่าจะเกิดการสอบสวนดำเนินคดีสังหารนักปกป้องสิทธิมนุษยชน และทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเกื้อหนุนต่อการดำเนินงานของนักปกป้อง สิทธิมนุษยชน รวมถึงประกันให้หน่วยงานของรัฐในทุกสาขา ทั้งฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ ภายใต้การทำงานของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่จะสามารถสร้างกลไกการคุ้มครองอย่างมีประสิทธิภาพทั้งในทางกฎหมาย นโยบาย และการปฏิบัติ เพื่อคุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยง และประกันว่าผู้ที่ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขู่หรือคุกคาม จะสามารถเข้าถึงช่องทางการเยียวยาได้.